top of page

1 เมษายน ประวัติวันโกหกโลก April Fool’s Day

April Fool’s Day วันเมษาหน้าโง่ รู้ยัง?


เริ่มต้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในยุคศตวรรษที่ 16 ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสมีวันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน จนกระทั่งมาถึง ค.ศ.1562 โป๊ป เกรกอรี จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันในวันที่ 1 มกราคม แต่สมัยก่อนนั้น ข่าวสารไม่ได้กระจายรวดเร็วเหมือนสมัยนี้ คนบ้านนอกของฝรั่งเศสบางกลุ่มยังไม่รู้ แถมบางคนได้ยินแล้วก็ยังไม่เชื่อ เลยฉลองวันปีใหม่กันวันที่ 1 เมษายนตามเดิม ทำให้ชาวเมืองในฝรั่งเศสยุคนั้นเย้ยหยันทำเหมือนเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก และพยายามแกล้งโกหกคนกลุ่มนี้ตลอดเวลา เมื่อวันที่ 1 เมษายนเวียนมาถึงในทุกๆ ปี จึงกลายเป็นเหตุผลที่ว่า จะแกล้งโกหกหลอกลวงอะไรใครในวันนี้ก็ได้ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย และเป็นที่นิยมกันไปทั่วโลก

แต่ก็ยังมีอีกหลายทฤษฎีเช่นเดียวกัน บ้างก็ระบุว่าเริ่มจากพวกโรมันโบราณ มีเทศกาลที่เรียกว่า "Cerealia" จัดในช่วงต้นเดือนเมษายน เทพเจ้าชื่อ Ceres ทรงได้ยินเสียงสะท้อนของพระธิดา Prosperpina ตะโกนมาว่าถูกจับตัวไปอยู่ใต้ผืนดินโดยเทพพลูโต Ceres จึงตามเสียงลูกสาวไป และได้พบความจริงที่ว่าการตามเสียงสะท้อนเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย เหมือนว่าพระองค์ทรงถูกหลอก

อีกทั้งยังมีอีกทฤษฎีที่เชื่อว่า April Fool’s Day เกิดจากช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่เล่าสืบต่อกันมาว่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หนุ่มสาวจะออกตามหาความรัก และเป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโต ในขณะที่สัตว์ต่างๆ ก็หาคู่ด้วย กลุ่มนักบวชจึงพยายามหลอกล่อวิญญาณของความชั่วร้ายอย่างสุดความสามารถ เพื่อไม่ให้มาขัดขวางความรักของทั้งหนุ่มสาว พืช และสัตว์ ดังนั้นจึงเป็นเดือนที่นักบวชจะต้องสวดเพื่อหลอกเหล่าวิญญาณร้าย

วันเมษาหน้าโง่ April Fools' Day ในยุคปัจจุบัน

ในปัจจุบัน วันเมษาหน้าโง่ กลายมาเป็นวันที่ผู้คนจะล้อเล่นกันด้วยเรื่องโกหกต่างๆ ทั้งทางคำพูด การแสดงท่าทาง และในโซเซียลมีเดีย โดยจะเล่นโกหกอะไรในวันนี้ ควรจะคำนึงว่า

  • ต้องไม่ทำอันตรายให้ผู้อื่น

  • ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น

  • ต้องไม่เกี่ยวกับความเป็นความตาย

วันโกหก 1 เมษายน ในประเทศต่างๆ

1. วันโกหกประเทศอังกฤษ

ในปี ค.ศ. 1980 บีบีซีประกาศว่า หน้าปัดนาฬิกาบิ๊กเบนเปลี่ยนมาเป็นแบบดิจิทัล ซึ่งนั่นก็คือหนึ่งในประเพณี April Fool’s Day โดยมีนักคติชนวิทยาผู้ศึกษาวัฒนธรรมชาวอังกฤษได้กล่าวว่า ประเพณีในสหราชอาณาจักรมีมานานและจะเฉลยกันตอนเที่ยง เพื่อไม่ให้ถูกเข้าใจผิด คนที่ถูกล้อในวันเมษาหน้าโง่ของอังกฤษ จึงหมายถึงคนที่เล่นแผลงๆ หลังเลยเวลาช่วงเที่ยงขึ้นไปนั่นเอง

2. วันโกหกประเทศไอร์แลนด์

ในไอร์แลนด์ มุก April Fool’s Day จะเป็นการแชร์จดหมายลูกโซ่ ที่ระบุภารกิจที่คนอ่านจดหมายเมื่อเปิดแล้วก็ต้องไปทำต่อไป ลงท้ายด้วยคำว่า “send the fool further” หมายถึง “ส่งให้คนโง่ต่อไป”

3. วันโกหกประเทศโปแลนด์

ในโปแลนด์จะเล่นมุกโกหกในช่วงวันแรกของเดือนเมษายน การแกล้งกันนี้มีมาหลายศตวรรษ จนกระทั่งหน่วยงานราชการ และสถาบันสำคัญจะไม่ออกประกาศที่จริงจังในวันนี้ เพราะเกรงว่าคนทั่วไปจะไม่เชื่อ อิทธิพลนี้ส่งต่อไปยังเมืองต่างๆ ที่มีประวัติศาสตร์ใกล้ชิดกับโปแลนด์

4. วันโกหกประเทศกลุ่มประเทศนอร์ดิก

ชาวเดนมาร์ก ฟินน์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน จะฉลองวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day ด้วยการตีพิมพ์เรื่องเท็จ มุกโกหกสักหนึ่งเรื่อง ไว้บนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ แต่ไม่ใช่หัวข้อบนสุด

5. วันโกหกประเทศเยอรมนี

ในวันที่ 1 เมษายน ชาวเยอรมนีมักตะโกนขึ้นมาดังๆ ว่า “วันเมษาหน้าโง่” และปล่อยมุกแกล้งกัน ล่าสุดปี 2021 ค่ายรถยนต์ Volkswagen ก็ได้ทวีตวิดีโอแผนการตลาดในทวิตเตอร์ เปลี่ยนคำว่า Volk- เป็น Volt- สุดท้ายก็เฉลยออกมาภายหลังว่าเป็นเรื่องอำกัน

6. วันโกหกประเทศยูเครน

ยูเครนมีการเฉลิมฉลองวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day กันในหลายท้องถิ่น บางพื้นที่มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ด้วยขบวนพาเหรด และตกแต่งเมือง ประดับประดาร้านค้าริมถนน ผู้เข้าร่วมงานแต่งกายด้วยสีสันสนุกสนาน

7. วันโกหกประเทศเลบานอน

ผู้ที่อยากเล่นตลกวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day จะพูดคำว่า كذبة أول نيسان ซึ่งแปลว่า “วันแรกของเดือนเมษาที่โกหก” ให้แก่ผู้รับ

8. วันโกหกประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน

ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาสเปน รวมถึงประเทศฟิลิปปินส์ มีงานเฉลิมฉลองที่คล้ายกับวันโกหกเดือนเมษายน แต่จัดในช่วงปลายเดือนธันวาคม

9. วันโกหกประเทศจีน

แม้ว่าประเทศจีนจะได้รับอิทธิพลวันเอพริลฟูลส์เดย์มาจากฝั่งยุโรป ในแต่ปี ค.ศ. 2003 ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อนักร้องชาวฮ่องกงชื่อดัง เลสลี่ จาง ได้กระโดดตึกเสียชีวิต เนื่องจากข่าวนี้ประกาศออกมาในวันที่ 1 เมษายน ประชาชนจึงยังไม่ปักใจเชื่อกัน ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นความจริง แฟนคลับของเธอจึงใช้วันนี้เป็นวันรำลึกถึงนักร้องที่พวกเขาระลึกถึง

10. วันโกหกประเทศญี่ปุ่น

แบรนด์สินค้าต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น มักออกภาพกราฟิกแคมเปญที่หลงให้ผู้ติดตามผลิตภัณฑ์ชวนเชื่อ เช่น การออกนาฬิการุ่นใหม่ หรือเปลี่ยนคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนที่นิยมให้หน้าตาแปลกๆ ถือว่าเป็นการเล่นมุกโกหกอย่างน่ารักๆ

สำหรับในประเทศไทยนั้นการโพสต์ข้อมูลข่าวสารเท็จ หรือแชร์ข่าวปลอมนั้นถือเป็นการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 2560 มาตรา 14 มีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะฉะนั้นก็ควรเล่นกันแค่พอหอมปากหอมคอและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2665070

-------------------------------------------------------------------------------------------


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สมัครตัวแทนจำหน่าย ติดต่อเข้าชมสินค้าที่บริษัทได้ทางแชท

หรือโทรศัพท์ http://m.me/lionevthailand (เวลาทำการ วันจันทร์ - เสาร์ 08.30-16.30 น.

โทร 087-548-3338 (เวลาทำการ วันจันทร์ - เสาร์ 08.30-16.30 น

สินค้าคุณภาพดี ตรงปก ราคาคุ้มค่า ที่ตั้งบริษัทชัดเจน ดำเนินธุรกิจมากว่า 20 ปี

จดแจ้งถูกต้อง มี มอก. เสียภาษีสรรพสามิตเรียบร้อยทุกชิ้น

มีบริการหลังการขาย เคลมได้ ไม่ทิ้งลูกค้า มีอะไหล่ให้บริการตลอด

มีรีวิวสินค้า มีสื่อการขายให้พร้อมสำหรับการขายสินค้า

มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา และ แนะนำ

ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงมากมาย และค่าใช้จ่ายแอบแฝงในการนำเข้าสินค้า

ให้เรารับความเสี่ยงทั้งหมดแทนคุณ ด้วยทีมงานมืออาชีพมากประสบการณ์

------------------------------

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.lion-ev.com/motorcycle

-------------------------------

LION EV

“Live Electric Life”

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ



0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page