มลพิษทางเสียง คือ สภาวะที่มีระดับเสียงที่ดังและยาวนานจนก่อให้เกิดทั้งความรำคาญ และอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับความดังจากแหล่งกำเนิดเสียง ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับผู้ได้ยิน และระยะเวลาในการได้ยินเสียงนั้น
มาตรการสั่งการและควบคุมเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีการกำหนดมาตรการในการควบคุมปัญหามลพิษทางเสียง ได้แก่
1.1.การกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ตามมาตรา 32 ไม่เกิด 115 เดซิเบลเอ
และค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนอยู่หรืออาศัย
1.2.การกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิด เช่น ประกาศกระทรวงเรื่องกำหนดระดับเสียงของรถยนต์ จักรยานยนต์ และเรือกล ประกาศกระทรวงเรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน เป็นต้น
2. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2531) เรื่องกำหนดรายละเอียดการตรวจสภาพรถยนต์ที่จะจดทะเบียนได้ ว่าต้องผ่านการตรวจระบบการกรองเสียงด้วย
3. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านนํ้าไทย พ.ศ. 2546 ห้ามมิให้เรือก่อให้เกิดเสียงดังจนเป็นเหตุให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เช่น เสียงแตร นอกจากนั้นยังมีประกาศกรมเจ้าท่าฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2515) เรื่อง การใช้เครื่องวัดเสียงดังของเรือกล ซึ่งกำหนดระดับเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ
4. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยการห้ามมิให้นำรถที่มีเสียงดังซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนรำคาญมาใช้ในทางเดินรถ นอกจากนั้นยังมีการประกาศกำหนดเกณฑ์เสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถยนต์อีกด้วย
5. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสภาพ เครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบของรถ เช่น มีเครื่องระงับเสียง มีเครื่องยนต์และเสียงแตรที่ไม่ทำให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด นอกจากนั้นห้ามนำเสียงแตรที่มีเสียงทำให้เกิดความรำคาญหรือรบกวนสาธารณชนมาใช้ ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับและไม่อาจนำรถดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือต่อทะเบียนได้
6. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดเสียงดังจากสถานประกอบการต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต้องมีหน้าที่กำจัดเสียง และความสั่นสะเทือนในโรงงานไม่ให้เป็นที่เดือดร้อน เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง และดูแลรักษาระบบเก็บเสียงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดเวลา
7. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ควบคุมระดับเสียง
ที่ลูกจ้างได้รับ เฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวันมิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งถ้าเกินมาตรฐานต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดหรือทางผ่านของเสียงเพื่อไม่ให้ระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
ผลกระทบของมลพิษทางเสียง โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประการ คือ ผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ถ้ามนุษย์ได้ยินเสียงรบกวนอันไม่พึงประสงค์ที่ดังและยาวนานพอ จะทำให้ร่างกายหลั่งสารอะดรินาลีนมากขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เกิดความเครียด หงุดหงิด รำคาญ ซึ่งส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ประการที่สองคือผลกระทบต่อการได้ยิน ถ้าได้ยินเสียงที่ดังเกินกว่าขีดจำกัดของการได้ยิน ส่งผลให้อาจสูญเสียการได้ยินไปชั่วคราว หรืออาจถึงขั้นสูญเสียการได้ยินถาวร โดยขึ้นอยู่กับระดับของเสียง ความถี่ของเสียง และระยะเวลาที่ได้ยินเสียงนั้น
แหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียง ที่พบเห็นโดยทั่วไป แบ่งออกได้เป็น 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งแรกมาจากยานพาหนะต่างๆ เช่นเสียงของเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย ไม่ว่าจะมาจาก รถยนต์ จักรยานยนต์ เรือโดยสาร รถไฟ หรือแม้กระทั่งเครื่องบิน แหล่งที่สองจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมาจากการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากคนงานที่ปฏิบัติงานจะได้รับผลกระทบทางตรงแล้ว ชุมชนใกล้เคียงอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมด้วย แหล่งสุดท้ายคือแหล่งกำเนิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น เสียงจากสถานบันเทิง
การก่อสร้าง การแสดงคอนเสิร์ต ที่สร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า LION EV เป็นอีกทางเลือก ที่จะสามารถช่วยลดมลพิษทางเสียงได้
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.lion-ev.com
-------------------------------------------------------------
LION EV
“Live Electric Life”
ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ
#เปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
Commenti